Home -> Fiscal & Social Policy
Recently Research Project
โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาระบบเงินเดือน และค่าตอบแทนด้านต่าง ๆ ของข้าราชการตำรวจ

Presentation1

ข้าราชการตำรวจ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งและเป็นส่วนแรกของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมซึ่งปฏิบัติงานโดยการบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรมอย่างมีมาตรฐาน ทั้งนี้ ความหลากหลายของตำแหน่งงาน เนื้องาน ลักษณะการปฏิบัติงาน พื้นที่การปฏิบัติงานและความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานนำไปสู่ความจำเป็นในการปรับปรุงระบบเงินเดือน และค่าตอบแทนของข้าราชการตำรวจทั้งสองฝ่าย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจฝ่ายปฏิบัติการ และที่ไม่ใช่ฝ่ายปฏิบัติการ (ครอบคลุมข้าราชการตำรวจกลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน และกลุ่มงานเทคนิค) ให้มีความเหมาะสม เพื่อทำให้ข้าราชการตำรวจสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีศักดิ์ศรี และสามารถดำรงตนอยู่ในความยุติธรรมได้ ซึ่งจะนำไปสู่การลดปัญหาการบริหารกำลังพลที่สำคัญอย่างปัญหาการทุจริต และความไม่เพียงพอของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมูลนิธิ สวค. ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ รายได้และรายจ่ายลักษณะการทำงาน ความเสี่ยงจากการทำงาน ความแตกต่างของพื้นที่ที่ถูกมอบหมายให้ไปปฏิบัติงาน และความสามารถในการครองชีพ ของข้าราชการตำรวจ และผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมสายงานอื่น เพื่อให้สะท้อนถึงปัจจัยที่ต้องคำนึงในการพิจารณาประกอบการจัดทำข้อเสนอการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนของข้าราชการตำรวจที่ประกอบด้วย ปัจจัยในเชิงภาพรวมของการปฏิบัติงาน ลักษณะเฉพาะของการปฏิบัติหน้าที่บางหน้าที่ โดยเฉพาะหน้าที่ของข้าราชการตำรวจฝ่ายปฏิบัติการ และปัญหาเฉพาะของข้าราชการตรวจที่ไม่ใช่ฝ่ายปฏิบัติการ

จากการสำรวจข้อมูลจากข้าราชการตำรวจทั่วประเทศจำนวน 9,000 ตัวอย่าง พบว่า ข้าราชการตำรวจได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มเฉลี่ย 23,400 บาทต่อเดือน มีรายได้จากการทำงานเสริมเฉลี่ย 11,500 บาทต่อเดือน และรายได้จากสมาชิกอื่นในครอบครัวอีกประมาณ 11,500 บาทโดยเฉลี่ยต่อเดือน รวมทั้งสิ้น 46,400 บาทต่อเดือน ขณะที่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในชีวิตประจำวันต่อเดือน 24,600 บาท ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้เฉลี่ยต่อเดือน 6,100 บาท และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องออกเองประมาณ 5,200 บาทต่อเดือน รวมค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 35,900 บาท โดยเมื่อเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่ารายได้ที่ข้าราชการตำรวจสามารถหาได้เองนั้นไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งที่มาของความไม่เพียงพอของรายได้ที่สำคัญประการหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ข้าราชการตำรวจต้องรับผิดชอบเอง อย่างไรก็ตาม ครอบครัวของข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยจากการทำงานเสริมนอกเวลาราชการ และรายได้จากสมาชิกอื่นในครอบครัวอุดหนุนจากผลการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ดังกล่าวข้างต้น มูลนิธิ สวค. เห็นว่า การออกแบบข้อเสนอการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนของข้าราชการตำรวจควรมีการดำเนินการในประเด็น ดังนี้ 1)ปรับปรุงบัญชีเงินเดือนให้แตกต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญ 2) ปรับปรุงอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ 3) เสนอให้มีการให้เงินเพิ่มตามท้องที่ 4) ปรับปรุงการให้เงินเพิ่มตามวิชาชีพ และ 5) ปรับปรุงสวัสดิการ

loading