การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียน เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมการขยายฐานเม็ดเงินลงทุนและเพิ่มอัตราการจ้างงานภายในภูมิภาค -ขณะนี้ อาเซียนกำลังเผชิญกับวิวัฒนาการและแนวโน้มด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญในช่วงเวลาที่ผ่านมา กล่าวคือ การลงทุนโดยตรงทั้งขาเข้าและขาออกทั้งหมดภายในอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บทความฉบับนี้ ได้ทำการสรุปสถานการณ์การลงทุนโดยตรงของอาเซียนทั้งขาเข้าและขาออก โดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลและนโยบายในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศต่างๆ ภายในอาเซียน โดยพบว่า ASEAN FDI ที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดจากหลายปัจจัยสนับสนุน เช่น การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการลงทุนภายในอาเซียนเอง การเพิ่มขึ้นของมูลค่าธุรกรรมด้านการซื้อขายและควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition: M&A) การเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากแหล่งใหม่ (Emerging Sources) เช่น จีน การเปิดโอกาสการลงทุนที่มากขึ้น รวมถึงพื้นฐานของเศรษฐกิจมหภาคและสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนของภูมิภาคที่ดีขึ้น อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคที่มีประสิทธิผลในระดับสูงปรากฏการณ์เหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นของนักลงทุนระหว่างประเทศที่มีต่ออาเซียนในฐานะภูมิภาคเป้าหมายในการลงทุน
การขยายตัวของ FDI โลกที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ จากรายงานการลงทุนโลกประจาปี พ.ศ.2558 (World Investment Report 2015) ขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD ระบุว่า หากเทียบกับการลงทุนทั่วโลกในช่วงเวลาก่อนหน้า พบว่ากระแสการลงทุนของโลกในปี 2555 นั้นถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญครั้งแรกที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีกระแสเงินลงทุนไหลเข้ามากกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศกำลังพัฒนาสามารถดึงดูดกระแสเงินลงทุนได้ถึงประมาณ 703 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 52 ของมูลค่าการลงทุนของโลกทั้งหมด ซึ่งกระแสเงินลงทุนส่วนใหญ่นั้นไหลเข้าสู่กลุ่มประเทศในเอเชียและลาตินอเมริกามากที่สุด (รายละเอียดภาพที่ 1 และ 2)
ภาพที่ 1: มูลค่าเงินลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ 10 ปีที่ผ่านมา
ที่มา: World Investment Report 2015 (UNCTAD)
ภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียมีได้รับการลงทุน FDI เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
ภาพที่ 2: เปรียบเทียบกลุ่มประเทศที่ได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 3 ปีที่ผ่านมา
ที่มา: World Investment Report 2015 (UNCTAD)
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า FDI ในกลุ่มประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งนี้ ข้อมูลจาก ASEAN Investment Report ระบุว่า อัตราการเจริญเติบโตของ FDI ที่เข้ามาในประเทศกลุ่มอาเซียนในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 1999 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 22 ขณะที่ อัตราการเจริญเติบโตของ FDI ที่เข้ามาในประเทศกลุ่มอาเซียน รวมกับประเทศญี่ปุ่น จีนและเกาหลีใต้ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 15 ประเด็นที่น่าใจคือ ส่วนแบ่งของ FDI ที่ไหลเข้ามาในประเทศกลุ่มอาเซียนเพิ่มมาเป็นเกือบ 10% ของมูลค่า FDI ของโลก
ภาพที่ 3: การลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศอาเซียนและอาเซียน+6
เมื่อพิจารณา FDI สะสมของประเทศในกลุ่มอาเซียน ปี ค.ศ. 2005-2013 พบว่า ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศผู้รับ FDI หลักใน ASEAN ตามหลังเพียงสิงคโปร์และอินโดนีเซีย (ดูรูปที่ 4)
ภาพที่ 4: การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสะสมของประเทศอาเซียน ระหว่างปี 2005 – 2013
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ภาพที่ 5: การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศอาเซียน ระหว่างปี 2005 – 2013
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ภาพที่ 6: การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศอาเซียน
จำแนกตามแหล่งที่มาและอุตสาหกรรมเป้าหมาย
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
จากภาพที่ 6 แสดงว่า แหล่งที่มาของ FDI สู่ประเทศอาเซียน พบว่า แม้ส่วนมากจะได้รับ FDI มาจากประเทศพัฒนาแล้ว แต่เงินทุน FDI จากประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนได้เริ่มมีน้ำหนักความสำคัญมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันมีแนวโน้มของเงินทุนที่จะเคลื่อนย้ายเข้า-ออกระหว่างประเทศกำลังพัฒนาแล้วด้วยกันทวีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ
ข้อมูล ASEAN Investment Report 2015 พบว่า FDI ในประเทศอาเซียนได้เพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 16 โดยประเทศที่เป็นจุดสนใจของ นักลงทุนต่างชาติ คือ ประเทศกัมพูชา เวียดนาม และพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพม่าที่มีการปฏิรูป ประเทศ และกฎหมายการลงทุน จึงสร้างความ มั่นใจให้กับนักลงทุนชาว ต่างชาติ และทั้ง 3 ประเทศดึงดูดนักลงทุนที่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานฝีมือ เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า เนื่องจากมีค่าแรงที่ถูก
ภาพที่ 7: การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศ CLMV
เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างของ FDI ส่วนใหญ่ของโลก พบว่า ยังคงมีการลงทุนมากในสาขาการบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงิน และการสื่อสาร แต่ทว่า FDI สำหรับภาคการผลิตนั้นกลับหดตัวลงอย่างแรง ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบของการควบรวมและการซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions หรือ M&A) ซึ่งเกิดขึ้นมากในสาขาการบริการ
ทั้งนี้ เป็นกรณีเดียวกันกับ โครงสร้างของ FDI ที่ไหลมายังประเทศในกลุ่มอาเซียนส่วนใหญ่ จะไหลเข้าไปยังภาคบริการมากกว่าภาคการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่ไปยังประเทศสิงคโปร์ เนื่องจาก FDI ที่ไปยังประเทศสิงคโปร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคบริการมากกว่าภาคการผลิต
ในส่วนของภาคการผลิตนั้นภูมิภาคอาเซียนมีอุตสาหกรรมที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนี้
1) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศอาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น กล้องถ่ายรูป หม้อหุงข้าว คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ รวมถึงส่วนประกอบต่างๆ
2) อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drives) ประเทศอาเซียนผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟได้ถึงมากกว่าร้อยละ 80 ของการผลิตทั้งหมดของโลก โดยมีบริษัทข้ามชาติ (เช่น ซัมซุง โตชิบา เวสเทิร์นดิจิตอล และอินเทล) เป็นตัวจักรขับเคลื่อนการผลิตที่สำคัญของภูมิภาค
3) อุตสาหกรรมยานยนต์ ประเทศอาเซียนเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถบรรทุก 1 ตัน และยานพาหนะโมเดลใหม่ ๆ รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีบริษัทข้ามชาติอย่างโตโยต้า วอลโว่ และนิสสัน ร่วมในเครือข่ายการผลิตของภูมิภาคที่มีผู้จัดจำหน่ายของท้องถิ่น จึงทำให้ภูมิภาคกลายเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานของโลก โดยบริษัทข้ามชาติที่ผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบยานยนต์จำนวนมากก็ตั้งฐานการผลิตอยู่ในอาเซียนด้วย
4) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม บริษัทผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์เนมชั้นนำของโลก เช่น แกป ทาร์เก็ต เฮชแอนด์เอ็ม อาดิดาส ลีวาย เบเนต็อง ฯลฯ ล้วนจัดจ้างการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าในอาเซียนทั้งสิ้น โดยเฉพาะในประเทศอาเซียน CLMV ที่ยังมีค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย และเวียดนาม
2. ทิศทางของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศอาเซียน – Outward FDI
ปัจจุบัน ทิศทาง Outward FDI ของประเทศกำลังพัฒนากำลังเติบโต โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะจีนและฮ่องกง โดยในปี 2010 ประเทศจีนมีจำนวน OFDI สูงกว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก
สำหรับการลงทุน OFDI จากประเทศในภูมิภาคเอเชียมีการเจริญเติบโตโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้มีข้อสังเกตจาก World Invesment Report ของ UNCTACD กล่าวว่า ประเทศยิ่งมีรายได้สูง ระดับ OFDI ยิ่งสูง โดยจะมีรูปแบบการลงทุนมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามประเภทอุตสาหกรรมที่เข้าไปลงทุน รูปแบบการลงทุน OFDI และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ออกไปลงทุนมีลักษณะแตกต่างกัน กล่าวคือ ในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ประเทศที่เน้นภาคบริการอย่างประเทศสิงคโปร์และประเทศฮ่องกง จะลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ขณะที่ประเทศในกลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ อย่างประเทศเกาหลีใต้และประเทศไต้หวัน จะเป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศ
ในกรณีของประเทศอาเซียน ASEAN Investment Report 2015 ระบุว่า ในปี 2014 OFDI ไปยังประเทศต่างๆ รวมกันสูงขึ้นร้อยละ 19 หรือมูลค่า 80 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับได้ว่ามีมูลค่าสูงกว่า OFDI ของประเทศฝรั่งเศสและสเปนรวมกัน และมากกว่าเกาหลีใต้ 2.5 เท่า ประเทศอาเซียนที่มี OFDI สูง คือประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยมีโครงสร้าง OFDI เป็นการลงทุนในภาคบริการเป็นส่วนใหญ่
สำหรับประเทศไทยการลงทุนโดยตรงของประเทศไทยไปยังในกลุ่มประเทศ CLMV และอินโดนีเซียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะหลัง ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา โดยในปี 2007-2013 เพิ่มขึ้นประมาณ 2-7 เท่า มูลค่าสูงถึง 300-1,400 ล้าน US$ โดยในปี 2013 เม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ประเทศพม่า อินโดนีเซีย และเวียดนามมีมูลค่าสูงถึง 377,470 และ 352 ล้าน US$ ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่จะไปอยู่ในภาคการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน และภาคบริการ
ภาพที่ 8: การลงทุนโดยตรงไปต่างประเทศในประเทศอาเซียน จำแนกตามประเทศที่ไปลงทุน
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์มีบทบาทสูงในการส่งเสริมการลงทุน Outward FDI มีการสิ่งจูงใจ (incentive) ในการออกไปลงทุนต่างประเทศ และมีระบบการส่งเสริมในลักษณะระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ดำเนินนโยบายครบถ้วนทุกด้านและนโยบายแต่ละด้านสามารถสอดประสานกันได้อย่างเป็นระบบ จึงนับได้ว่าเป็นประเทศผู้นำของ ASEAN OFDI ณ ขณะนี้
3. นโยบายการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญของประเทศอาเซียน
ในส่วนนี้จะนำเสนอสรุปนโยบายการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญของประเทศอาเซียนที่มีความสามารถในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มาก รวมถึงประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งนับได้ว่าเป็นประเทศที่ได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงมาโดยตลอดในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนของประเทศต่างๆ แล้ว ประเด็นสำคัญที่ทำให้ประเทศอาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุน คือ นโยบายการลงทุนของประเทศจีนที่ต้องการขยายตลาดสินค้าของจีน โดยนำชิ้นส่วนจากจีนมาประกอบและจัดจำหน่ายในประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงนโยบายการลงทุนของประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายกระจายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียนเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการพึงพาฐานการผลิตในจีนเพียงแห่งเดียว ตามนโยบาย “China Plus One” มูลค่าเงินลงทุนจากญี่ปุ่นหลั่งไหลเข้ามาในภูมิภาคอาเซียนมากเป็นประวัติการณ์ในปี 2013 กว่า 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเฉลี่ยกว่าร้อยละ 30 ต่อปี โดยมีปัจจัยสำคัญสนับสนุน คือ เพื่อหลีกเลี่ยงความท้าทายที่เกิดขึ้นในประเทศจีนและตลาดภายในของญี่ปุ่นที่ซบเซา และมีการคาดการณ์ถึงขนาดของตลาดที่ใหญ่และมีศักยภาพในการเป็นแหล่งการผลิตของอาเซียนนอกเหนือจากจีน ในการนี้ ญี่ปุ่นได้มีการขยายลงทุนในอินโดนีเซียและเวียดนาม รองจากประเทศไทยที่ยังคงเป็นฐานการลงทุนที่สาคัญที่สุดในอาเซียน
นอกจากนี้ นักลงทุนญี่ปุ่นได้ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการประกอบสินค้าที่ใช้ฝีมือแรงงานสูงและเป็นฐานการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาค โดยย้ายการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้แรงงานเข้มข้นและเทคโนโลยีไม่ซับซ้อนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และขนย้ายกลับเข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำการประกอบและส่งออก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม CLMV โดยอาศัยการพัฒนาโครงข่ายขนส่งภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงที่ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งภายในภูมิภาคลดต่ำลง
ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือ มาตรการในระดับภูมิภาคที่ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา มีส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสภาพแวดล้อมการลงทุนของภูมิภาคได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน มาตรการสำคัญประกอบด้วย การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยความร่วมมือของภูมิภาคในส่วนของการค้าสินค้า ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) การขับเคลื่อนความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA) และการค้าบริการ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ด้วยการมีความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิชาชีพ (ASEAN Agreement on the Movement of Natural Persons: MNP)
ในขณะเดียวกัน ในช่วงระหว่างปี 2552-2555 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศสมาชิกทั้งหลายของอาเซียนต่างดำเนินงานเชิงนโยบายภายในประเทศของตนเอง เพื่อสนับสนุนการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ได้แก่ การเปิดเสรีการลงทุน การสร้างบรรยากาศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย การปรับปรุงแก้ไขกระบวนการและขั้นตอนการเข้าลงทุนให้เรียบง่ายมากขึ้น การพัฒนาปัจจัยจูงใจในการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ การลงนามในข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซ้ำซ้อน (Double Taxation) กับประเทศต่างๆ การลดอัตราภาษีนิติบุคคล การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งและสมรรถนะเชิงสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ภายในขอบเขตและอาณัติของการส่งเสริมการลงทุนที่กว้างขึ้น และการดำเนินมาตรการเพื่อลดต้นทุนด้านการดำเนินธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการไหลเวียนของเงินลงทุน เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ สามารถสรุปนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศอาเซียนสำคัญที่ได้รับ FDI มาก มีความสามารถในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนี้
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีนักลงทุนสนใจมาลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศอาเซียนนักลงทุนโดยส่วนใหญ่มากมาจากเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร โดยธุรกิจที่ชาวต่างชาตินิยมเข้าไปลงทุนในสิงคโปร์มากที่สุด คือ ธุรกิจสาขาการเงินและการประกันภัย ธุรกิจสาขาการผลิต และธุรกิจสาขาการก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ทรัพยากรในประเทศมีอยู่อย่างจำกัด มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบค่อนข้างสูงและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง สิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ถือว่าเป็นจุดอ่อนของประเทศสิงคโปร์ในการเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุน หากทว่า ประเทศสิงคโปร์ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าเป็นประเทศที่เหมาะแก่การลงทุนเนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความโดดเด่น หลายๆ ด้าน ทั้งนี้ มีสาเหตุเนื่องมากจากการที่ประเทศสิงคโปร์ ให้ความเท่าเทียมกันระหว่างนักลงทุนชาวสิงคโปร์และชาวต่างชาติ ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นกิจการต่างๆ ได้ในสัดส่วน 100% เกือบทุกประเภทกิจการ ยกเว้นธุรกิจด้านกระจายเสียงและการจัดสรรคลื่นความถี่ที่กฎหมายระบุให้ต่างชาติถือหุ้นสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 49 ธุรกิจด้านหนังสือพิมพ์ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 5 สิงคโปร์กำหนดอาชีพสงวนที่ห้ามต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจลงทุน ได้แก่ ธุรกิจด้านกฎหมายและการประกอบอาชีพทนายความ นอกจากนี้ ต่างชาติยังไม่สามารถลงทุนธุรกิจที่ดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจสิงคโปร์ ได้แก่ ธุรกิจการบิน บริการสาธารณะ เช่น ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ สิงคโปร์ไม่มีกระบวนการอนุมัติการลงทุนจากต่างชาติ นักลงทุนต่างชาติเพียงแค่จดทะเบียนธุรกิจกับหน่วยงานรับจดทะเบียนธุรกิจเท่านั้น Economic Development Board (EDB) เป็นหน่วยงานหลักของสิงคโปร์ที่รับผิดชอบส่งเสริมการลงทุนในประเทศสิงคโปร์ทั้งธุรกิจการผลิตและบริการ บริษัทที่จดทะเบียนในสิงคโปร์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งทางภาษี (Tax incentives) และไม่ใช่ภาษีหลายประการรวมทั้งมีโอกาสได้รับเงินช่วยเหลือและได้รับการลดภาษีกรณีที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสามารถขยายฐานการผลิตโดยจัดตั้งโรงงานเพิ่มเติมทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
นอกจากนี้ ประเทศสิงคโปร์เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) อัตราร้อยละ 17 นับเป็นอัตราต่ำสุดในภูมิภาคเอเชียและประเมินรายตามแหล่งเงินได้ (Territorial basis) การจ่ายเงินปันผลไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย สถาบันการเงินให้บริการเต็มรูปแบบแก่นักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ นักลงทุนสามารถเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินที่หลากหลายโดยไม่มีข้อจำกัด อีกทั้งยังไม่มีข้อจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือครองเงินตราต่างประเทศและมีอิสระในการส่งเงินทุน กำไร เงินปันผล ค่าเช่า และดอกเบี้ย กลับประเทศโดยไม่มีข้อจำกัด
อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานต่างชาติมีความเข้มงวดพอสมควร โดยรัฐบาลสิงคโปร์ได้ออกพระราชบัญญัติการว่าจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment of Foreign Manpower Act) กำกับดูแลการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานในสิงคโปร์ได้ โดยแบ่งการออกใบอนุญาตทำงานให้กับคนต่างชาติเป็นประเภทต่างๆ และใช้ค่าธรรมเนียมการจ้างแรงงานต่างชาติ (Foreign Worker Levy หรือ Levy) เป็นกลไกควบคุมจำนวนแรงงานต่างชาติ ทั้งนี้ตามกฎหมายของสิงคโปร์ (Residential Property Act) บริษัทต่างชาติสามารถเช่าที่ดินจากรัฐบาลสิงคโปร์ได้ โดยมีระยะเวลาเช่าขั้นต้น 30 ปีและสามารถขยายเวลาได้ถึง 60 ปี
ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าประเทศสิงคโปร์จะมีจุดอ่อนในแง่ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ต่างจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่สิงคโปร์ก็มีความโดดเด่นที่สุดในอาเซียน ในด้านการบริหารจัดการภายใน การเพิ่มประสิทธิภาพสิ่งต่างๆ และความมั่นคงด้านการเมือง รวมถึงการเพิ่มความโปร่งใสในทุกระดับธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านต่างๆ ให้มีมาตรฐานจนได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
ประเทศมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซียเป็นอีกประเทสหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับความสนใจจากต่างประเทศมาลงทุนทางตรง ด้วยเหตุนี้ จึงมีกิจการหลายกิจการที่รัฐบาลให้การส่งเสริมการลงทุนจะมีการให้สิทธิประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ภายใต้กฎหมายที่สำคัญได้แก่ Promotion of Investments Act 1986, Income Tax Act 1967, Customs Act 1967, Sales Tax Act 1972, Excise Act 1976 และ Free Zones Act 1990 โดยกฎหมายเหล่านี้ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมการลงทุนทั้งในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร การบริการ และการท่องเที่ยว
ในการนี้ มีหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการลงทุนคือ Malaysian Industrial Development Authority (MIDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของ Ministry of Trade and Industry (MITI)
ทั้งนี้ ในส่วนของการให้สิทธิประโยชน์หลักตามกฎหมาย ส่งเสริมการลงทุน อาจจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะคือ (1) Pioneer Status และ (2) Investment Tax Allowance (ITA) ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกอย่างใด อย่างหนึ่งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ที่สุดได้ เช่น หากการลงทุนนั้นต้องเน้นการซื้อเครื่องจักรหรือโรงงาน อาจเลือกสิทธิประโยชน์แบบที่ 2 ได้และประเด็นที่น่าสนใจ คือ ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนท้องถิ่น
(1) Pioneer Status สำหรับบริษัทที่จะยื่นขอสิทธิประโยชน์ในกลุ่ม Pioneer Status จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บางส่วนเป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่เริ่มการผลิต (โดยวันที่เริ่มการผลิตนับจากวันที่ใช้กำลังการผลิตเกิน ร้อยละ 30 ของกำลังการผลิตรวม) โดยนำรายได้เพียงร้อยละ 30 ของเงินได้สุทธิ (Statutory Income) หรือเงินได้ที่ได้รับหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆแล้วมาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราปกติ
สำหรับการลงทุนในเขตที่รัฐบาลส่งเสริมพิเศษ เช่น ซาราวัค ซาบาห์ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และยะโฮร์ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี โดยบริษัทจะต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2553
(2) Investment Tax Allowance (ITA) สำหรับบริษัทที่ยื่นขอสิทธิประโยชน์ในกลุ่ม Investment Tax Allowance (ITA) สามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทุน เช่น โรงงาน เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดย MIDA มาหักลดหย่อนได้ร้อยละ 60 ของค่าใช้จ่าย ก่อนนำไปคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราปกติ แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินได้สุทธิ (Statutory Income) ในปีนั้น โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่ค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้น ส่วนที่เหลือจึงจะนำมาคำนวณเพื่อชำระภาษีในอัตราปกติ
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนที่ยังมิได้นำมาหักลดหย่อนในปีนั้น สามารถยกไปหักลดหย่อนในปีถัดไปได้จนกว่าจะเต็มจำนวน
นอกจากนี้ สำหรับการลงทุนในเขตที่รัฐบาลส่งเสริมพิเศษ เช่น รัฐซาราวัค ซาบาห์ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และยะโฮร์ สามารถนำค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าทุนดังกล่าวมาหักลดหย่อนได้เต็มจำนวนโดยได้สูงสุดถึงร้อยละ 100 ของเงินได้สุทธิ (Statutory Income) ในปีนั้น โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เป็นเวลา 5 ปี ทั้งนี้บริษัทจะต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2553
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับจากกรณี Pioneer Status และ Investment Tax Allowance แล้ว รัฐบาลมาเลเซียได้มีการกำหนดให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการสนับสนุนเป็นพิเศษ ซึ่งมีหลายสาขาในทุกภาคการผลิต อาทิเช่น
(1) ภาคอุตสาหกรรม
โครงการลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (High Technology), โครงการลงทุนที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ, โครงการลงทุนที่สร้างความเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมต่างๆ (Industrial Linkage Programme: ILP), การผลิตส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้ทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี รวมถึงการนำเข้าสินค้าทุนสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 60 (กรณีที่เป็นการลงทุนในเขตที่รัฐบาลส่งเสริมพิเศษสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมดเป็นระยะเวลา 5 ปี)
สำหรับการผลิตเครื่องจักรเฉพาะแบบ จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้และค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าทุนทั้งหมด เป็นระยะเวลา 5 ปี
สำหรับการผลิตเครื่องจักรหนัก จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ร้อยละ 70 ของอัตราปกติ (กรณีที่เป็นการลงทุนในเขตที่รัฐบาลส่งเสริมพิเศษจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ทั้งหมด) เป็นระยะเวลา 5 ปี รวมถึงการนำเข้าสินค้าทุนสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 60 (กรณีที่เป็นการลงทุนในเขตที่รัฐบาลส่งเสริมพิเศษ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด) เป็นระยะเวลา 5 ปี
(2) ภาคเกษตร
บริษัทที่ทำการผลิตและแปรรูปอาหารที่เป็นโครงการใหม่และที่เป็นการขยายการลงทุนเพิ่มเติม การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกที่ทันสมัยโครงการผลิตอาหารฮาลาล การส่งออกอาหาร ผลไม้ และดอกไม้ การปลูกไม้ยางพารา เป็นต้น จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้บางส่วน โดยนำเงินได้เพียงร้อยละ 30 ของเงินได้ทั้งหมดมาคำนวณภาษี เป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่มีผลผลิตออกจำหน่าย ในกรณีที่เป็นการลงทุนในเขตที่รัฐบาลส่งเสริมพิเศษ จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ทั้งหมดเป็นระยะเวลา 5 ปี
นอกจากนี้ ประเทศมาเลเซียยังได้กำหนดให้มีสิทธิประโยชน์ที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยจำแนกตามประเภทธุรกิจภายใต้เงื่อนไขต่างๆ อีกมากมาย เช่น การลงทุนในเขต Multimedia Super Corridor (MSC) การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) การลงทุนด้านการเดินเรือ และการขนส่งโครงการลงทุนด้านการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) เป็นต้น
ประเทศอินโดนีเซีย
นโยบายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศอินโดนีเซีย กำหนดให้กฎระเบียบที่ใช้เหมือนกันหมดทุกพื้นที่ เนื่องจากรัฐบาลกลางเป็นผู้กำกับดูแล และนักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุน 100% ได้ในเกือบทุกธุรกิจ สำหรับธุรกิจที่ยกเว้นสามารถลงทุนในรูปแบบ Joint Venture ได้
ในการนี้ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการลงทุนหลัก คือ BKPM (Investment Coordinating Board) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี และตำแหน่งประธาน BKPM ก็เป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี รวมทั้งทำหน้าที่ในการให้บริการในลักษณะ One-stop Services
อินโดนีเซียได้ผ่านกฎหมาย “Law of the Republic of Indonesia Number 25 of 2007 Concerning Investments” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 เนื่องจาก รัฐบาลอินโดนีเซียเห็นว่า กฏหมายการลงทุนฉบับใหม่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและได้มีการกำหนดไว้ในแผนพัมนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยกฎหมายฉบับนี้มีการกำหนดนิยามของการลงทุนที่ชัดเจนและเป็นสากล ครอบคลุมทั้งการลงทุนของคนในประเทศและต่างชาติ แม้การเข้ามาลงทุนของต่างชาติบางกิจการมีเงื่อนไขที่แตกต่างจากท้องถิ่น แต่เมื่อเข้ามาลงทุนแล้วจะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายฉบับนี้ ต่างจากในอดีตที่มีการแยกการลงทุนของต่างชาติและท้องถิ่นออกจากกันภายใต้กฎหมายคนละฉบับ นอกจากนี้กฎหมายใหม่ยังระบุว่าจะไม่มีการยึดกิจการเป็นของรัฐ ยกเว้นกฎหมายให้อำนาจ ซึ่งหากเกิดกรณีเช่นนั้น รัฐบาลจะชดเชยให้ในราคาตลาด และหากตกลงกันไม่ได้ หรือ เกิดกรณีพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งเคยเป็นปัญหาสำคัญในอดีต จะใช้วิธีตั้งอนุญาโตตุลาการจากประเทศที่เป็นที่ยอมรับของคู่กรณี (Article 7 และArticle 32 Section 4) ต่างจากในอดีตที่ต้องขึ้นศาลอินโดนีเซียเท่านั้น
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2550 ได้มีประกาศของประธานาธิบดี ฉบับที่ 77/2007 หรือ “Regulation of the President of the Republic of Indonesia Number 77 of 2007” และแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศ ประธานาธิบดี ฉบับที่ 111/2007 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2550 ระบุชัดเจนถึงกิจการที่มีเงื่อนไขในการลงทุน (Investment Negative List) ทั้งที่ห้ามลงทุนหรือมีเงื่อนไขบางประการ ส่วนกิจการอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุสามารถลงทุนได้อย่างเสรี
ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1) กิจการ/โครงการลงทุนทั้งของนักลงทุนในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับความเห็นชอบจาก BKPM หรือสำนักงานตัวแทนของภูมิภาค จะได้รับการลดหย่อนอากรขาเข้าจนอัตราภาษีขั้นสุดท้ายเป็นร้อยละ 5 สำหรับกรณีที่อากรขาเข้าที่กำหนดอยู่ใน Indonesian Customs Tariff Book อยู่ที่ร้อยละ 5 หรือ ต่ำกว่า ทั้งนี้ หากการนำเข้าจากต่างประเทศ ASEAN จะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าร้อยละ 0
2) กิจการการผลิตเพื่อส่งออก ผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
- สามารถนำเข้าวัตถุดิบได้อย่างเสรีในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก หากสินค้า /วัตถุดิบ / เครื่องจักร ไม่สามารถผลิตในประเทศได้
- ได้รับการคืนอากร (Drawback) สำหรับการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปส่งออก
- ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีการค้าสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือยที่ซื้อในประเทศ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก
3) กิจการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขต Bonded Zone จะไดรับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
- ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือยในการส่งสินค้าเพื่อการผลิตต่อจาก Bonded Zone ไปยังผู้รับเหมาช่วงของบริษัท หรือในทางกลับกันระหว่างบริษัทดังกล่าวในเขตพื้นที่
- ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือยในการนำเข้าสินค้าทุน และเครื่องมือต่างๆ รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า
- ได้รับการอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในประเทศได้ (โดยผ่านกระบวนการนำเข้ามาปกติ) ได้ถึงร้อยละ 50 ของมูลค่าส่งออก
- ได้รับการอนุญาตให้จำหน่ายเศษหรือของเหลือจากการผลิต (Scrap or Waste)
- สามารถนำเครื่องมือเครื่องจักรของบริษัทไปให้ผู้รับเหมาช่วง (Subcontractors) ยืมไปใช้นอก Bonded Zone ได้ภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี เพื่อนำไปผลิตตามกระบวนการต่อไป
4) กิจการที่มีการลงทุนในพื้นที่ Integrated Economic Development Zones (KAPETS) หรือ ภูมิภาคที่กำหนด (Certain Regions) อาทิ ภาคตะวันออกหรือในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดตั้งขึ้นมาหรือเป็นอุตสาหกรรมบุกเบิกใหม่ (Pioneer Industries) ประเทศอินโดนีเซียได้มีการกำหนดให้ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีเพิ่มเติมแล้วแต่ประเภทของอุตสาหกรรมตามนโยบายของท้องถิ่นนั้นๆ อีกด้วย
ประเทศฟิลิปปินส์
สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ รัฐบาลได้มีการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศภายใต้กฎหมาย Foreign InvestmentAct 1991 โดยกฏหมายฉบับนี้ได้มีการกำหนดให้สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อจูงใจนักลงทุนทั้งจากภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ต่อมาในปี 1996 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการลงทุนโดยมีการผ่อนปรนเงื่อนไขการลงทุนขั้นต่ำ เพื่อเป็นการชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น
ในการนี้ นักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกิจการได้โดยไม่ต้องมีคนท้องถิ่นร่วมทุน ยกเว้นในกรณีที่เป็นธุรกิจที่อยู่ในรายการธุรกิจต้องห้าม (The Foreign Investment Negative List) เช่น ธุรกิจบริการ ร้านอาหาร เป็นต้น โดยสัดส่วนการถือหุ้นที่อนุญาตให้คนต่างชาติถือครองจะมีการกำหนดแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการออกกฎหมาย Special Economic Zone Act of 1995 เพิ่มเติม ซึ่งได้กำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ เรียกว่า “Ecozones”ภายในการกำกับดูแลของ Philippine Economic Zone Authority (PEZA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายดังกล่าว โดยได้กำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษ แบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ
- Industrial Estate (IEs) เป็นนิคมอุตสาหกรรมที่มีโครงการพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับอุตสาหกรรมหลากหลาย อาทิ ไฟฟ้า ถนน ประปา เป็นต้น
- Export Processing Zone (EPZs) เป็นนิคมอุตสาหกรรมพิเศษ ซึ่งบริษัทที่อยู่ในนิคมนี้ส่วนใหญ่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ และชิ้นส่วน
- Free Trade Zone (FTZs) เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่อยู่ใกล้ทางเข้าประเทศ เช่น ท่าเรือ และท่าอากาศยาน สินค้าที่นำเข้ามาในเขตนี้เพื่อรอการขนถ่าย เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ จัดเรียงใหม่ หรืออื่นๆ ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ยกเว้นเมื่อนำออกจากเขต
- Tourism Ecozones เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีจุดประสงค์ที่ต้องการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม เช่น ร้านอาหารศูนย์กีฬา แหล่งบันเทิง ที่พักอาศัย อาคารแสดงสินค้าและวัฒนธรรม เป็นต้น
- IT Parks & IT Building เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการ ซึ่งประกอบด้วยอาคาร IT และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ลงทุนด้าน IT
ในส่วนของสิทธิประโยชน์ในการลงทุนนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้กำหนดให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งและการจดทะเบียนธุรกิจ
(1) สำหรับกิจการทั้งของท้องถิ่นและต่างชาติที่จดทะเบียนกับ Board of Investments (BOI)
จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลงทุน หากอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้
- ต้องเป็นกิจการที่ระบุอยู่ใน Investment Priorities Plan (IPP)
- หากเป็นกิจการที่ไม่ได้ระบุอยู่ใน IPP จะต้องเป็นธุรกิจที่ทการผลิตเพื่อส่งออกอย่างน้อยร้อยละ 50 (กรณีเป็นกิจการที่ต่างชาติถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 40) หรืออย่างน้อยร้อยละ 70 (กรณีกิจการที่ต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ 40)
โดยจะได้รับสำหรับสิทธิประโยชน์ที่สำคัญ ได้แก่
- ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยที่กิจการที่จดทะเบียนกับ BOI จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นับจากปีที่เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในระยะเวลาแตกต่างกัน ดังนี้
- โครงการใหม่ที่เป็นโครงการบุกเบิก (Pioneer Status) 6 ปี
- โครงการใหม่ที่มิได้เป็นโครงการบุกเบิก (Non-pioneer Status) 4 ปี
- โครงการขยาย 3 ปี และโดยทั่วไปจำกัดเฉพาะรายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
- โครงการปรับปรุงกิจการ 3 ปี และโดยทั่วไปจะจำกัดเฉพาะรายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
- โครงการใหม่หรือโครงการขยายที่อยู่ในเขตห่างไกลความเจริญ (Less Developed Areas : LDAs) 6 ปี ไม่ว่าจะเป็นโครงการบุกเบิกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม กิจการที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงมะนิลจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ยกเว้นกิจการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐโครงการที่เกี่ยวข้องกับด้านบริการการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือผู้ส่งออกที่ขยายโครงการ
- โครงการใหม่และโครงการที่ตั้งอยู่ในเขต LDAs อาจได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก 1 ปี ถ้ากิจการนั้นมีการใช้วัตถุดิบในประเทศอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของต้นทุนวัตถุดิบในปีก่อนหน้า (ยกเว้น BOI กำหนดสัดส่วนสูงกว่านี้) หรือ สัดส่วนทุนต่อแรงงานไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคน หรือ มีรายได้เงินตราต่างประเทศสุทธิอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อไป
- ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า กิจการที่มีคลังสินค้าทัณฑ์บนจะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าและชิ้นส่วน
- ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือ ภาษีส่งออก และค่าธรรมเนียม การนำเข้ากิจการที่จดทะเบียนภายใต้ IPP จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการใช้ท่าเรือ ภาษีส่งออก และค่าธรรมเนียมการนำเข้าเป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากวันที่จดทะเบียน
- ได้รับการหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยกิจการสามารถนำรายจ่ายมาหักลดหย่อนรายได้ก่อนนำมาคำนวณภาษีเงินได้ ดังนี้
- ค่าจ้างแรงงานสามารถนำมาหักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่ง หากการนั้นมีสัดส่วนทุนต่อแรงงานตามที่กำหนด และไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ค่าใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็น สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด หากกิจการนั้นตั้งอยู่ในเขตท้องถิ่นห่างไกลความเจริญที่ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีกรณียกเว้นกิจการเหมืองแร่และป่าไม้ ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ห่างไกลแหล่งวัตถุดิบอยู่แล้ว
- ในการจ้างแรงงานต่างชาติ กิจการที่จดทะเบียนกับ BOI สามารถจ้างแรงงานต่างชาติในตำแหน่งผู้อำนวยการ ช่างเทคนิค และที่ปรึกษาได้ 5 ปี นับจากวันที่จดทะเบียน ทั้งนี้ ยกเว้นประธานบริษัท กรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการสร้างด้านการเงิน ไม่มีข้อจำกัดในประเด็นนี้
- ได้รับสิทธิในการผ่อนคลายพิธีการศุลกากร โดยกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการนำเข้าอุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่วัตถุดิบและสินค้า และการส่งออกสินค้า โดยการผ่อนคลายระบบพิธีการศุลกากรเพื่อการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน
(2) สำหรับกิจการที่จดทะเบียนกับ PEZA
สำหรับกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนภายใต้การกำกับดูแลของ PEZA และมีการส่งออกอย่างน้อยร้อยละ 70 จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนที่สำคัญ ดังนี้
- ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ประกอบการจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 4 ปี และขยายได้อีกไม่เกิน 4 ปี หลังจากนั้นสามารถเลือกเสียภาษีเงินได้ในอัตราพิเศษ (Special Income Tax) ร้อยละ 5 ของรายได้รวม (Gross Income) แทนการเสียภาษีเงินได้และภาษีท้องถิ่นในอัตราทั่วไปได้
- ได้รับการยกเว้น ภาษีนำเข้าผู้ประกอบการได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่ และวัตถุดิบทั้งหมด
- ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือ ภาษีส่งออก และค่าธรรมเนียมการนำเข้าสินค้าต่างๆ
- ได้รับสิทธิการพำนักถาวร ผู้ประกอบการต่างชาติและครอบครัว โดยจะมีสิทธิการพำนักถาวรหากมีการลงทุนเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 150,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- 5. ได้รับการผ่อนคลายพิธีการศุลกากร ผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกสินค้า
ประเทศกัมพูชา
ประเทศกัมพูชาได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยได้ออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อส่งเสริมและกำกับดูแลการลงทุนที่ค่อนข้างครบถ้วน กฎระเบียบหลัก คือ กฎหมายการลงทุนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2546 เนื้อหากฎหมายครอบคลุมบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริมการลงทุนของกัมพูชาการจัดตั้งและบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ การให้สัมปทานที่ดิน การเวนคืนที่ดิน เป็นต้น
ในส่วนของการขอรับการอำนวยความสะดวกการลงทุนและการอนุมัติโครงการลงทุน รัฐบาลกัมพูชาได้จัดตั้งสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชามีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงด้านการส่งเสริมการลงทุน และได้มีการจัดตั้งการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop-Service) สำหรับการลงทุนในกัมพูชา โดยได้กำหนดกระบวนการและเงื่อนไขการให้บริการที่ชัดเจน เกี่ยวกับข้อกำหนดและสัดส่วนของการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ภายใต้เงื่อนไขการส่งออกไปยังประเทศพัฒนาแล้วที่ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) แก่สินค้าจากกัมพูชาเพื่อให้สามารถใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง
กฎระเบียบของกัมพูชา ได้กำหนดสิทธิประโยชน์การลงทุนในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบการยกเว้นภาษีเงินได้ที่เก็บจากกำไรโดยมีช่วงเริ่มต้นไม่เกิน 3 ปี และมีช่วงเวลาพิเศษไม่เกิน 9 ปี มาตรการยกเว้นภาษีหรือลดภาษีนำเข้าสินค้าทุน รวมทั้ง มีการกำหนดมาตรการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบสินค้านำเข้า
แต่อย่างไรก็ตาม ได้กำหนดสาขาการลงทุนที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายการลงทุนเช่นกัน ได้แก่ กิจกรรมทางการค้าทุกประเภท บริการคมนาคมทุกรูปแบบ ร้านอาหาร คาราโอเกะ บาร์ โรงนวด ศูนย์ออกกำลังกาย ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ บริการวิชาชีพ คาสิโนและธุรกิจการพนัน ธุรกิจโรงแรมที่มีมาตรฐานต่ำกว่า 3 ดาว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และคลังสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับข่าวและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อ (วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์)
ทั้งนี้ ตามนโยบายของกัมพูชายังได้กำหนดเงื่อนไขสำคัญในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน คือ วงเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละกิจการที่แตกต่างกันไปตามของประเภทกิจการ ด้านระบบการเก็บภาษี กัมพูชาจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 และจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัตราร้อยละ 0-20 ในอัตราก้าวหน้า จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 ด้านการจ้างงานของแรงงานต่างชาติ กฎหมายกัมพูชากำหนดให้จ้างแรงงานต่างชาติได้ในระดับผู้จัดการ หัวหน้า และแรงงานฝีมือ โดยไม่จำกัดจำนวนลูกจ้างชาวต่างชาติ แต่กำหนดเพดานการจ้างแรงงานต่างชาติไว้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด
ในส่วนด้านการถือครองที่ดิน กฎหมายกัมพูชาห้ามชาวต่างชาติถือครองที่ดินแต่อนุญาตให้บุคคลต่างชาติและนิติบุคคลต่างชาติเช่าที่ดินได้นาน 99 ปี และอนุญาตให้เป็นเจ้าของอาคารที่อยู่บนที่ดินได้นาน 70 ปี
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น ประเทศกัมพูชายังให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนโดยได้กำหนดมาตรการลดต้นทุนให้แก่ภาคธุรกิจ และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม การปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการด้านการลงทุนและการประกอบธุรกิจ การพัฒนาคุณภาพแรงงานภายในประเทศ อีกด้วย
ประเทศลาว
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างชาติ โดยผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ ได้แก่
1) การให้บริการ One-stop Service จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจดทะเบียนการลงทุน และการจัดการด้านแรงงาน
2) การได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ ยานพาหนะ และวัตถุดิบเพื่อการก่อสร้าง
3) การได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีต่างๆ เช่น ภาษีกําไร (Profit Tax) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ตามประเภทของการลงทุน รวมทั้งสิทธิการพำนักใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กับครอบครัวในช่วงเวลาที่ระบุไว้ตามสัญญา
นอกจากนี้ ได้มีการกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลแล้ว รวม 10 เขต โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศลาว ที่ได้รับการพัฒนาและพร้อมรับการลงทุนมี 3 แห่ง คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนคำ แขวงหลวงนํ้าทา เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว และเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน – เซโน แขวงสะหวันนะเขต ซึ่งเป็นที่สนใจของนักลงทุนเนื่องจากมีจุดเด่นในด้านทำเลที่ตั้งใกล้บริเวณชายแดนไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บนเส้นทาง R9 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor- EWEC) และอยู่ในกรอบความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement: CBTA) รัฐบาลลาวคาดหวังว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน – เซโน จะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมอันทันสมัยของประเทศและช่วยสร้างอาชีพ รวมถึงยกระดับความรู้ความสามารถด้านฝีมือแรงงานของประเทศ
รูปแบบการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย ๓ รูปแบบ ได้แก่
(1) ธุรกิจร่วมตามสัญญา (Business Cooperation by Contract) คือการร่วมทำธุรกิจกันระหว่างนิติบุคคลลงทุนภายใน สปป.ลาวกับต่างประเทศ โดยไม่ได้ก่อตั้งนิติบุคคลใหม่ใน สปป.ลาว
(2) วิสาหกิจร่วมทุนระหว่างนักลงทุนต่างประเทศกับนักลงทุนภายใน (Joint Venture between Foreign and Domestic Investor) ซึ่งอัตราส่วนของนักลงทุนต่างประเทศต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด) เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างนักลงทุนต่างประเทศ กับนักลงทุนภายในของ สปป.ลาว การลงทุนเป็นเงินตราต่างประเทศต้องคิดเป็นเงินกีบ ตามอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่ง สปป.ลาว
(3) วิสาหกิจลงทุนต่างประเทศ 100 % (100 % Foreign-Owned Enterprise) เป็นวิสาหกิจของต่างประเทศที่ลงทุนฝ่ายเดียว โดยวิสาหกิจลงทุนของต่างประเทศมีอายุไม่เกิน 50 ปี และสามารถต่ออายุได้ไม่เกิน 75 ปี
สภาแห่งชาติลาวได้เห็นชอบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 เพื่อใช้แทนกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนภายใน ฉบับเลขที่ 10/สพช. ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2557 และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศ ฉบับเลขที่ 10/สพช. ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2557 ดังนั้น ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่นี้ นักลงทุนลาวและนักลงทุนต่างประเทศจะได้รับสิทธิประโยชน์เดียวกัน สาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ คือ การปรับปรุงการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนผ่านบริการประตูเดียว (One Stop Service) เพื่อลดขั้นตอน การกําหนดระยะเวลาพิจารณาอนุมติโครงการลงทุนให้ชัดเจน และการเสนอมาตรการส่งเสริมการลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีโดยพิจารณาจากประเภทกิจการและพื้นที่ที่ลงทุน และการอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิซื้อสิทธิใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย
สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนในประเทศลาว คือ
- การยกเว้นภาษีนำเข้ายานพาหนะเพื่อการผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
- ยกเว้นภาษีส่งออกสำหรับสินค้าส่งออกและส่งออกต่อ (Re-export)
- ลดอัตราภาษีกำไรให้กับธุรกิจที่ตั้งห่างไกล พิจารณาตามเขตพื้นที่
สาขาที่ส่งเสริม คือ
- ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
- ธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยวและสปา
- ธุรกิจประกอบกิจการเดินรถบรรทุก เพื่อขนส่งสินค้าภายในและระหว่าประเทศ
- การเพาะปลูกสินค้าเกษตร เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมันและละหุ่ง
- อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก
- สินค้าหัตถกรรมที่ผลิตจากไม้ ไม่ไผ่ และหวายเพื่อการส่งออก
- อุตสาหกรรมที่ สปป.ลาวได้รับสิทธิพิเสษทางศุลกากร (GSP) จากประเทศพัฒนาแล้ว เช่น เสื้อผ้า รองเท้า อัญมณี เครื่องประดับ
เขตส่งเสริมการลงทุน
- แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เขตที่ 1 พื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร โครงสร้างพื้นฐานไม่สะดวก เขตที่ 2 พื้นที่ที่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานบางส่วน และ เขตที่ 3 เขตเมืองใหญ่มีสาธารณูปโภคพร้อม โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างกัน
เขตเศรษฐกิจพิเศษ
- เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน ประกอบด้วย เขตอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปเพื่อส่งออก (Export Promotion Zone: EPXZ) เขตการค้าปลอดภาษี (Free Tax Zone: FTZ) เขตบริการและกระจายสินค้า (Logistics)
ประเทศเมียนมาร์
ในประเทศเมียนมาร์นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนแบบเป็นเจ้าของกิจการได้ทั้งหมด ถือหุ้นร้อยละ 100 (100% Foreign Owned) ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นได้ ในกรณีที่ไม่อยู่ในตาราง negative list และบางรายธุรกิจให้ดูการขออนุญาตเพิ่มเติมจากหน่วยงาน/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง (Notification No.1/2013) หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลพม่าให้เข้ามาลงทุนในพม่าแล้วบริษัทที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวจะต้องมาขออนุญาตดาเนินกิจการในประเทศพม่าอีกครั้งหนึ่ง (การอนุญาตเข้ามาลงทุน กับการขออนุญาตเข้ามาดาเนินกิจการ / ค้าขาย เป็นเรื่องแยกขาดจากกัน) ซึ่งจาเป็น ที่จะต้องโอนวงเงินขั้นต่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในรูปเงินตราต่างประเทศไปฝากไว้กับธนาคารการค้าต่างประเทศ (Myanmar Foreign Trade Bank: MFTB) ภายใน ๒๐ วันหลังการยื่นขอดาเนินกิจกรรมทางธุรกิจดังกล่าว และต้องโอนให้เป็นที่เรียบร้อยภายใน ๑๘๐ วัน ซึ่งการแปลงหน่วยสกุลเงินต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ทางการกําหนด (Official Rate) เท่านั้น
เมียนมาร์ได้ออกกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศฉบับใหม่ (Myanmar New Foreign Investment Law: NFIL) เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2555 เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่าได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน มีกรอบระยะเวลาการพิจารณาชัดเจนขึ้น (ระยะเวลาไม่เกิน 105 วันนับตั้งแต่วันขออนุญาต) และให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ มากขึ้น เช่น เปิดโอกาสให้ต่างชาติถือหุ้นในกิจการบางสาขาได้ถึงร้อยละ 100 และอนุญาตให้เช่าซื้อที่ดินได้นานถึง 70 ปี (รวมการต่ออายุ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 ปี) แม้ว่าจะมีประเด็นสำคัญคือเงื่อนไขการจ้างงานที่เข้มงวดมากขึ้น
การร่วมทุนระหว่างนักลงทุนต่างชาติกับนักลงทุนพม่า (Venture Capital) เอกชนต่างชาติกับรัฐบาลพม่า กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศฉบับใหม่ ได้ยกเลิกข้อจำกัดมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำ รวมทั้งยกเลิกการกำหนดสัดส่วนการลงทุนขั้นต่ำของนักลงทุนต่างชาติ (เดิมร้อยลำ 35 ของมูลค่าการลงทุนรวมทั้งหมด) และอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนท้องถิ่นสามารถกำหนดสัดส่วนการลงทุนในโครงการได้เอง
สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนในเมียนมาร์ คือ
- การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี
- ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้จากการนำผลกําไรกลับไปลงทุนใหม่ภายในระยะเวลา 1 ปี
- ธุรกิจส่งออกจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ร้อยละ 50 ของผลกำไรที่ได้จากการส่งออก
- ยกเว้น/ลดหย่อยภาษีนำเข้า/ภาษีท้องถิ่นอื่นจากการนำเข้าเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการ
- ยกเว้นภาษีวัตถุดิบในการผลิตเมื่อเริ่มโครงการแล้วเป็นเวลา 5 ปี
สาขาที่ส่งเสริม คือ
- ด้านเกษตรกรรม เช่น เพาะปลูก ผลิต แปรรูป และจำหน่ายพืชล้มลุก รวมทั้งมันสำปะหลังและยาสูบ ทำไร่ แปรรูปพืชเป็น ยา กาแฟ ชา น้ำมันปาล์ม พืชสวน
- ด้านการปศุสัวต์และการประมง เช่น เพาะเลี้ยง แปรรูป บรรจุกระป๋องและจำหน่ายสัตว์ปีก และหมู ผลิตและจำหน่ายอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์เสริมสำหรับสัตว์ เพาะพันธ์ จับปลา แปรรูป จำหน่ายปลาทะเลและปลาน้ำจืด กุ้งและสิ่งมีชีวิตในทะเล
- ด้านป่าไม้ เช่น ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างพื้นฐาน เฟอร์นิเจอร์ สินค้าแกะสลัก งานฝีมือจากไม้สักที่ extracted และขายโดยองค์กรของรัฐ
- ด้านเหมืองแร่ เช่น สำรวจ ผลิต ใช้และจำหน่ายแร่ธาตุที่ไม่ใช่โลหะในอุตสาหกรรม เช่น ถ่านหิน หินปูน ยิปซั่ม
- ด้านพลังงาน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
เขตเศรษฐกิจพิเศษ
- เขตเศรษฐกิจพิเศษ Mingarlardon และ Thanlyin-Kyauttan เป็นเขตอุตสาหกรรมสำหรับนักลงทุนต่างชาติร่วมลงทุนกับรัฐบาลเป็นหลัก ส่วนเขตเศรษฐกิจอื่นๆ มักเป็นการลงทุนวิสาหกิจขนาดย่อมและโรงงานขนาดย่อม
ประเทศเวียดนาม
ประเทศเวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมาก เศรษฐกิจของเวียดนามในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศใช้ กฎหมายการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Law on Foreign Direct Investment) ตั้งแต่ปี 2530 เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะมีการปฏิบัติและให้ความเป็นธรรมกับนักลงทุนต่างชาติ โดยกำหนกให้มีนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนที่โดดเด่นในการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนมาก เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ในกรณีที่เป็นการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายในเวลาไม่เกิน 270 วัน นับแต่วันที่นำเข้าวัตถุดิบ การให้สิทธิ์ในการส่งผลกำไรกลับประเทศได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องเสียภาษีจากผลกำไรที่โอนกลับประเทศนั้น ยิ่งไปกว่านั้น การคิดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างชาติ สำหรับธุรกิจทั่วไปในอัตราเดียวกันกับนิติบุคคลเวียดนาม ที่อัตราร้อยละ 25 และสิทธิประโยชน์พิเศษอื่น ๆ หากมีการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น
ในการนี้ กฎหมายการลงทุน ปี 2548 (2005 Investment Law) เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดสิทธิประโยชน์ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของนักลงทุนและรัฐบาลต่อการส่งเสริมการลงทุนในประเทศเวียดนาม รวมทั้งได้กำหนดรูปแบบการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติไว้ 5 รูปแบบ ประกอบด้วย การจัดตั้งบริษัทและถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ การร่วมทุนกับนักลงทุนเวียดนาม การลงนามสัญญาธุรกิจกับนักลงทุนเวียดนาม และการควบรวมกิจการ ขั้นตอนการลงทุนประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ การขึ้นทะเบียนธุรกิจ และการประเมินการลงทุนเพื่อขอใบอนุญาตการลงทุน
ทั้งนี้ กฎหมายเวียดนามได้กำหนดอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการประเมินการลงทุนตามประเภทของธุรกิจและมูลค่าเงินลงทุน หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบประเมินการลงทุน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรีของเวียดนาม (Prime Minister of Government of Vietnam) กระทรวงการวางแผนและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment) และคณะกรรมการประชาชนประจำท้องถิ่น (Provincial People’s Committees) ด้านการคุ้มครองการลงทุน ธนาคารกลางเวียดนามไม่รับประกันการแลกเปลี่ยนเงินสกุลด่องไปเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศอื่นๆ ด้านการเวนคืนและการชดเชย นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิ์ที่จะได้รับการชดเชยความเสียหายจากการเวนคืนอย่างเป็นธรรม
ในส่วนของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2548 (แก้ไข ปี 2552) ซึ่งครอบคลุมทั้งการออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบแผนภูมิวงจรรวม สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และความลับทางการค้า ด้านระบบภาษี โดยปกติเวียดนามเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 25 และจะปรับลดเหลือร้อยละ 25 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557เป็นต้นไป มีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ร้อยละ5-35 และจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 รวมทั้งมีการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม
สิทธิประโยชน์การลงทุนในเวียดนามแตกต่างกันไปตามเขตเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย
1. Export Processing Zone เน้นการลงทุนด้านการผลิตเพื่อการส่งออก
2. Industrial Zone เป็นเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศ
3. High Tech Zone เป็นเขตเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง
นอกจากนี้ สิทธิประโยชน์การลงทุนในเวียดนาม ประกอบด้วย การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล เงื่อนไขผ่อนปรนการชำระค่าเช่าที่ดิน การให้เงินอุดหนุนอบรมแรงงาน และการยกเว้นภาษีศุลกากร โดยนักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์การลงทุนแตกต่างกันตามพื้นที่การลงทุน ซึ่งประกอบด้วย ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคกลาง สาขาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ การผลิตวัตถุดิบ การผลิตพลังงาน การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การผลิตที่อาศัยเทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตเครื่องจักรการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ ป่าไม้ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา และกีฬา เป็นต้น
สาขาที่ส่งเสริม คือ
- การผลิตวัตถุดิบ การผลิตพลังงาน การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การผลิตที่อาศัยเทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตเครื่องจักร
- การเกษตร ประมง ปศุสัตว์และป่าไม้
- การใช้เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีขั้นสูง
- อุตสาหกรรมที่ใช่แรงงานจำนวนมาก
- โครงสร้างพื้นฐาน
- การศึกษา กีฬาและการดูแลสุขภาพ
เขตเศรษฐกิจ 3 เขตเศรษฐกิจหลัก คือ
- Export Processing Zone เน้นการลงทุนด้านการผลิตเพื่อการส่งออก
- Industrial Zone เป็นเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศ
- High Tech Zone เป็นเขตเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง
ตารางที่ 1: สรุปนโยบายการส่งเสริมการลงทุนล่าสุดที่สำคัญของประเทศอาเซียน ณ ธันวาคม 2558
รายละเอียดมาตรการ |
วันที่ |
ที่มาข้อมูล |
||
มาเลเซีย |
||||
การส่งเสริมการลงทุน |
มาเลเซียประกาศนโยบาย National Automotive Policy 2014 เพื่อเสริมสร้างตวามสามาถในการแข่งขัน และส่งเสริมความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศรวมทั้งผลักดันให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ประหยัดพลังงาน (energy efficient vehicles) โดยมีการยกเว้นภาษีสรรพสามิตและภาษี นาเข้าแก่กิจการmที่ผลิตยานยนต์แบบ hybrid และ EV ในมาเลเซีย |
20 ม.ค. 2557 |
National Automotive Policy (NAP) 2014, Ministry of International Trade and Industry, ณ วันที่ 20 ม.ค. 2557 |
|
เมียนมาร์ |
||||
การเข้ามาลงทุน |
รัฐบาลพม่าออกใบอนุญาตให้บริการโทรคมนาคมสื่อสารแก่บริษัท Telonor และ Ooredoo ใบอนุญาตดังกล่าวให้อานาจ ผู้ให้บริการในการสร้าง ถือลิขสิทธิ์และ ดาเนินกิจการเครือข่ายโทรคมนาคมสื่อสาร รวมทั้งให้บริการโทรศัพท์สาธารณะและ บริการเครือข่ายสัญญาณมือถือ |
20 ม.ค. 2557 |
Press Release จาก Ministry of Communications and Information Technology ของพม่า ณ วันที่ 30 ม.ค. 2557 |
|
เวียดนาม |
||||
การส่งเสริมการลงทุน |
รัฐบาลเวียดนามออกประกาศกฎหมายกาหนดพื้นที่สาหรับกิจการสารสนเทศ (centralized information technology) โดยกาหนดให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น กาหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ร้อยละ 10 เป็นระยะเวลา 15 ปี และในบางกรณีสามารถขยายระยะเวลา การยกเว้นได้ถึง 30 ปี ต่อด้วยการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก ร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี การยกเว้นภาษีนาเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้ในการติดตั้งเพื่อให้บริการ และสิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นๆ เช่น สิทธิประโยชน์จากการส่งออก สินเชื่อการลงทุน สินเชื่อการนาเข้า และการอานวยความสะดวกทางพิธีการ ศุลกากร |
8 พ.ย. 2556 |
Decree No.154/2013, Ministry of Industry and Trade ณ วันที่ 16 ม.ค. 2557 |
|
บรรยากาศการทางธุรกิจ |
รัฐบาลเวียดนามได้แก้ไขกฎหมายแรงงาน โดยไม่อนุญาตให้มีการขยายอัตราจ้างงาน ต่างชาติ และกาหนดให้ต้องยื่นขออนุมัติความต้องการใช้พนักงานต่างชาติ (foreign workers) ต่อปีที่ Chairman of the People’s Provincial Committee |
1 พ.ย. 2556 |
Decree No. 102/2013/NDCP, National Institution of Labour Protection, ณ วันที่ 5 ก.ย. 2556 |
|
การส่งเสริมการลงทุน |
รัฐบาลเวียดนามออกประกาศกฎหมายใหม่ เพื่อส่งเสริมการสร้าง industrial parks EPZ และ เขตเศรษฐกิจพิเศษให้มีระบบและ ระเบียบแบบแผน |
1 ม.ค. 2557 |
Decree No. 164/2013/ND-CP, Ministry of Industry and Trade, ณ วันที่ 12 พ.ย. 2556 |
|
การเข้ามาลงทุน |
บริษัทต่างชาติ (wholly foreign invested enterprises: FIE) สามารถให้บริการ logistics ได้แล้ว ยกเว้น container handling services และบริการขนส่งทางบก |
11 ม.ค. 2557 |
Vietnam Opens Logistics Sector To Foreign Investors, Mondaq.com, ณ วันที่ 28 ม.ค. 2557 |
|
ที่มา: นโยบาย/กฏหมายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศอาเซียน และ Investment Policy Monitor (UNCTAC, 2014)
4. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอนาคต ประเด็นที่น่าจับตามอง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ภูมิทัศน์ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอาเซียน กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศในกลุ่ม CLMV มีแนวโน้มที่จะได้รับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น
โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ภูมิภาคมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนข้ามพรมแดน ประกอบด้วย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขนาดและศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาค สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการลงทุนที่มีแนวโน้มดีขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคที่มีความเข้มแข็ง การรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค (Regional Integration) ที่จะส่งเสริมการเติบโตที่ต่อเนื่องของเครือข่ายการผลิตของภูมิภาค (Regional Production Networks)
นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการสำคัญ แหล่งที่มาแห่งใหม่ของการลงทุน ภาวะอิ่มตัวของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายและควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition: M&A) บทบาทของเครือข่ายการผลิตของภูมิภาคที่สูงขึ้น (Enterprise Regionalizationand Internationalization) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสู่ภายนอก (Outward FDI) ของอาเซียน รวมถึงการลงทุนภายในประเทศอาเซียนด้วยกันเอง
การที่ภูมิภาคนี้ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักมากขึ้นในเวทีโลกในสถานะของผู้เล่นรายสำคัญด้านการมีส่วนในห่วงโซ่อุปทานและการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เติบโตสูง จากภาพที่ 9 แสดงให้เห็นว่า ประเทศสิงคโปร์และประเทศไทยนับได้ว่าเป็นประเทศที่ต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในการลงทุนสูง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงในประเด็นต่าง ๆ ของภูมิทัศน์ด้านการลงทุนเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการกำหนดนโยบายการลงทุนของภูมิภาครวมถึงประเทศไทยต่อไปในอนาคต
ภาพที่ 9: FDI Confidence Index 2016
เอกสารอ้างอิง
1) กฎหมายการลงทุนพม่าสำหรับคนต่างชาติ (กฎหมายพีย์ดังสู ฮลัตตอว์ เลขที่ ๒๑/๒๕๕๕) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 และ
“Myanmar Foreign Investment Commission Notification No. 1/2013and No. 11/2013
2) พีระ เจริญพร (2558) เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะเป็นปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจในปี 2558 ได้หรือไม่. TEF Research Paper
3) สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2556) อุตสาหกรรมยุดใหม่…ก้าวที่ท้าทายสู่อนาคตประเทศ. เอกสารนำเสนอโดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
4) ASEAN Secreatairate (ASEAN Sec), ASEAN Invesment Report 2015
5) A.T Kearney, FDI Confidence Index 2016
6) Lili Yan Ing (2014) The Asian Century: More than just China. Paper prepared for ASEAN-Japan Annual Business Symposium. Economic Research Institute for ASEAN and East Aisa
7) United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD), Global Investment Report 2015
8) United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD), Global Investment Trends Monitor No. 15, 28 January 2014
9) United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD), World Investment Prospects (WIP) Survey 2013-2015
10) United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD), Investment Policy Monitor No. 12, March 2014
มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
พฤษภาคม 2559
ตารางที่ 1: สรุปนโยบายการส่งเสริมการลงทุนล่าสุดที่สำคัญของประเทศอาเซียน ณ ธันวาคม 2558
รายละเอียดมาตรการ |
วันที่ |
ที่มาข้อมูล |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ที่มา: นโยบาย/กฏหมายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศอาเซียน และ Investment Policy Monitor (UNCTAC, 2014)