Home -> New Update

โครงการศึกษาวิจัยการประเมินผลกระทบจากนโยบายการค้าการลงทุนของกลุ่มประเทศ BRICS ต่อประเทศไทยและASEAN

ในยุคปัจจุบัน การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศอย่างเสรีนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมาก และถือเป็นหัวใจในการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก โดยเฉพาะประเทศตลาดเปิดใหม่ที่มีการเติบโตสูงเช่นกลุ่ม BRICS ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ประเทศกลุ่ม BRICS มีจำนวนประชากร ประมาน 3,600ล้านคน หรือ ร้อยละ 50 ของประชากรโลก มี GDP รวม 16.6 หมื่นล้านดอลล่าสหรัฐ หรือ ร้อยละ 22 ของ GDP โลก กลุ่ม BRICS จึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจอย่างมากในเชิงของการเป็นตลาดที่เติบโตเร็วและเป็นเป้าหมายสำหรับประเทศต่างๆที่ต้องการจะขยายดุลการค้าของตน รวมไปถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน 

BRICS Report Charts

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามูลค่าการส่งออกของไทยไปยังประเทศกลุ่ม BRICจะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของกลุ่ม แต่ส่วนแบ่งตลาดของไทยกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย บ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นการขยายตัวตามขนาดเศรษฐกิจของกลุ่ม BRICSเท่านั้น ไม่ใช่ด้วยความสามารถในการขยายตลาดของประเทศไทย

ด้วยเหตุนี้สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา (ITD) และมูลนิธิ สวค. จึงได้ศึกษาความเป็นไปได้ และผลกระทบของการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และการค้าการลงทุนของประเทศไทย ในประเทศกลุ่ม BRICS ผ่านการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) รวมไปถึงการประเมินกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะได้รับผลกระทบ จากการศึกษาเชิงลึกในด้านต่างๆของแต่ละประเทศทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ ผลการศึกษาที่น่าสนใจมีดังนี้

ในภาพรวม พบว่า การทำ FTA ระหว่างประเทศไทยกับ BRICS มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย โดยเฉพาะเชิงของเศรษฐกิจมหภาค เช่นการประมาณการว่าค่าผลิตภันฑ์มวลรวมของไทยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87 และการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการลงทุนที่ร้อยละ 11.09 ในขณะที่อาเซียนกับ BRICS ก็ส่งผลดีต่อไทยและอาเซียนด้วยเช่นกัน จึงควรเร่งผลักดันการทำความตกลง FTA นี้เพื่อการได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ของทุกฝ่าย

อย่างไรก็ตามการรวมกลุ่มของประเทศในกลุ่ม BRICS เป็นการรวมกลุ่มแบบหลวมๆเท่านั้น ไม่ได้มีลักษณะผูกมัดแบบสหภาพศุลกากร ตลาดร่วม สหภาพเศรษฐกิจ หรือสหภาพเหนือชาติ กอปรกับแต่ละประเทศในกลุ่มมีลักษณะ และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ในแบบรวมกลุ่มนั้นจึงเป็นไปได้ยาก FTA รายประเทศดูจะมีความเหมาะสมกว่าในบริบทนี้ ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการเจรจา หรือบรรลุกข้อตกลง FTAกับบางประเทศในกลุ่ม BRICS บ้างแล้ว เช่น อินเดีย และจีน เพราะฉะนั้นไทยควรจะผลักดันการเจรจาที่ค้าไว้กับอินเดีย และเปิดการเจรจากับ บราซิล รัสเซีย และ แอฟริกาใต้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำ FTA กับกลุ่มประเทศ BRICS

จากการศึกษาเชิงลึก สามารถระบุอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการส่งออก นำเข้า และลงทุนระหว่างไทยและประเทศคู่เจรจา ดังแสดงในตาราง

คู่เจรจา

ไทยมีศักยภาพส่งออก

(ไทยมีศักยภาพ

แต่คู่เจรจาไม่มี)

คู่เจรจามีศักยภาพส่งออกมาไทย

(ไทยไม่มีศักยภาพ

แต่คู่เจรจามี)

มีศักยภาพลงทุนหรืออาจมีแข่งขันสูง

(มีศักยภาพ

ทั้งไทยและคู่เจรจา)

บราซิล

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ยานยนต์

ยางและพลาสติก

อัญมณี

เครื่องหนัง

เนื้อสัตว์ น้ำมันพืช

กระดาษ

แร่และน้ำมัน

อาวุธ

ผลิตภัณฑ์จากพืช และอาหารแปรรูป

ผลิตภัณฑ์จากไม้ และเฟอร์นิเจอร์

รัสเซีย

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ยานยนต์

ยางและพลาสติก

ผลิตภัณฑ์ทางเกษตร

เหล็กและผลิตภัณฑ์

เบ็ดเตล็ด

แร่และน้ำมัน

อาวุธ

อัญมณี

ผลิตภัณฑ์จากไม้ และเฟอร์นิเจอร์

อินเดีย

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ยานยนต์

ยางและพลาสติก

ผลิตภัณฑ์จากไม้ และเฟอร์นิเจอร์อาหารแปรรูป

เคมีภัณฑ์ (เช่น ยา)

เครื่องหนัง สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม หมวกและรองเท้า

เหล็กและผลิตภัณฑ์

อัญมณี

ผลิตภัณฑ์จากพืช

จีน

ยานยนต์

ผลิตภัณฑ์จากพืช และ อาหารแปรรูป

อัญมณี

เครื่องหนัง สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม หมวกและรองเท้า

เหล็กและผลิตภัณฑ์

หิน แก้ว เซรามิก

ยางและพลาสติก

ผลิตภัณฑ์จากไม้ และเฟอร์นิเจอร์

เครื่องใช้ไฟฟ้า

แอฟริกาใต้

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ยางและพลาสติก

ผลิตภัณฑ์จากไม้ และเฟอร์นิเจอร์

เบ็ดเตล็ด

แร่และน้ำมัน

เหล็กและผลิตภัณฑ์

อัญมณี

ผลิตภัณฑ์จากพืช และอาหารแปรรูป

ยานยนต์

 

ผู้สนใจในรายละเอียด อาจติดตามหาอ่าน รายงานฉบับสมบูรณ์ บทสรุปผู้บริหาร หรือ ผลสรุปเชิงนโยบายต่อไปได้ ใน เว็บไซต์ ของ ITD (http://e-library.itd.or.th/category/research_report)  ที่กำลังจัดเผยแพร่ต่อไปได้เร็วๆนี้