Home -> Trade & Investment
Recently Research Project
List of Projects



BOI ร่วมกับ สวค. ขอเชิญร่วมงาน “โอกาสการลงทุนไทยในสาธารณรัฐอิสลามอิหร่ำน สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐซูดำน สาธารณรัฐอินเดีย และสำธำรณรัฐประชาชนบังกลาเทศ” วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ ห้องวิภาวดี Ballroom A โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว ...[+]




จากการที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ใช้การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติมาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีและการขยายโครงสร้างพื้นฐานได้เป็นเครื่องมือหลักในการส่งเสริมนโยบายดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแรงงานซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจถึงคุณลักษณะของแรงงานในแต่ละประเทศ ดังนั้น บทความฉบับนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอคุณลักษณะสำคัญของแรงงานในประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้ (1) ภาพรวมและคุณลักษณะตลาดแรงงานของไทย (2) ภาพรวมและคุณลักษณะของตลาดแรงงานของอินโดนีเซีย (3) ภาพรวมและคุณลักษณะของตลาดแรงงานของเวียดนา และ (4) แนวโน้มในอนาคตและปัจจัยท้าทาย...[+]



การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียน เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมการขยายฐานเม็ดเงินลงทุนและเพิ่มอัตราการจ้างงานภายในภูมิภาค -ขณะนี้ อาเซียนกำลังเผชิญกับวิวัฒนาการและแนวโน้มด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญในช่วงเวลาที่ผ่านมา กล่าวคือ การลงทุนโดยตรงทั้งขาเข้าและขาออกทั้งหมดภายในอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บทความฉบับนี้ ได้ทำการสรุปสถานการณ์การลงทุนโดยตรงของอาเซียนทั้งขาเข้าและขาออก โดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลและนโยบายในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศต่างๆ ภายในอาเซียน........[+]
บทความฉบับนี้ ได้ทำการสรุปสถานการณ์การลงทุนโดยตรงของอาเซียนทั้งขาเข้าและขาออก โดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลและนโยบายในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศต่างๆ ภายในอาเซียน........[+]



บทวิเคราะห์นี้ ตั้งประเด็นคำถามที่น่าสนใจ คือ “เหตุผลจำเป็นใดที่พวกเขา และไทยจะต้องออกไปลงทุนยังต่างประเทศ” และที่สำคัญกว่า คือ “จะออกไปได้อย่างไร และ รัฐต้องทำอย่างไรบ้าง” เพื่อส่งเสริมการออกไปลงทุนต่างประเทศ ในบทความนี้จะกล่าวถึง สถานการณ์การลงทุนต่างประเทศของไทยในปัจจุบัน และบทเรียนจากกรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่นและจีน...[+]



บทวิเคราะห์นี้นำเสนอผลการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งเสริมการลงทุนของไทย กล่าวคือ (1) ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจโลก อันเนื่องมาจากสถานการณ์วิกฤตภาคการเงินในสหรัฐฯ เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมามีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อเนื่องมายังสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันอย่างมาก ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในโลกดูเหมือนว่าจะไม่ได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เคยเป็นหัวรถจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีต รวมถึงการปรับตัวของเศรษฐกิจจีน ญี่ปุ่น และยุโรป โดยปัญหาหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่การผลิตของโลกที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา (2) ปัจจัยที่มิใช่เศรษฐกิจ เช่น ปัญหาผู้ก่อนการร้ายและผู้อพยพลี้ภัย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในปี 2559 และส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมการลงทุนของไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว...[+]

